หลายคนอาจจะสับสนว่ากรณีที่เราเกิดอุบัติเหตุจากรถ แล้วเรามีทั้ง พ.ร.บ. ประกันรถยนต์ และประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ทั้งหมดนี้ก็เบิกค่ารักษาอุบัติเหตุได้ทั้งหมด แล้วเราควรจะใช้สิทธิ์อะไรก่อนหลังดี
ให้เราแยกเหตุการณ์ด้วยความรุนแรงในการบาดเจ็บครับ
กรณีที่เราบาดเจ็บเล็กน้อย
ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
ประเมินแล้ว ไม่เกินวงเงิน ค่ารักษาพบาบาลของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA)
เราสามารถใช้ความคุ้มครองของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) ได้ทันที โดยใช้ได้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอุบัติเหตุ เหตุผลเพราะหากเราเข้าโรงพยาบาลในเครือของบริษัทประกันภัยมักจะตรวจสอบสิทธิ์และแฟกซ์เคลมได้อยู่แล้ว ไม่ต้องเตรียมเอกสารอะไรให้ยุ่งยาก
กรณีที่เราบาดเจ็บมาก / สาหัส
ต้องนอนโรงพยาบาล
ประเมินแล้ว เกินวงเงิน ค่ารักษาพบาบาลของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA)
แนะนำให้เรียงลำดับการใช้ความคุ้มครองจาก พ.ร.บ. ตามด้วย ประกันรถยนต์ และตามด้วย ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA)
เหตุผลที่แนะนำอย่างนี้เพราะ
เราต้องเตรียมเอกสารต่าง ๆ + ลงบันทึกประจำวันเพื่อใช้ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลจาก พ.ร.บ. อยู่แล้ว โดยให้ญาติผู้บาดเจ็บเป็นผู้จัดเตรียมให้
กฎหมายกำหนดให้ใช้ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. ให้เสร็จสิ้นก่อนจึงค่อยใช้ความคุ้มครองอื่น ๆ ตามสิทธิ์ของรัฐที่เรามีอยู่
หากนอนโรงพยาบาล พ.ร.บ. สามารถเบิกค่าชดเชยได้วันละ 200 บาท (รวมแล้วไม่เกิน 20 วัน)
ค่ารักษาพบาบาลของ พ.ร.บ. (กรณีไม่เป็นผู้ประมาท) 80,000 บาท
เมื่อใช้ความคุ้มครองครบตามจำนวณของ พ.ร.บ. แล้ว จึงสามารถใช้ความคุ้มครองของประกันรถยนต์ต่อได้ตามทุนประกันภัยที่ซื้อเอาไว้ เริ่มต้นที่ 500,0000 บาท
หากไม่พอเกินจากนั้นยังใช้ความคุ้มครองของประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) มาปิดท้ายได้อีก
การทำเนินเริื่องเบิกเคลมทั้งหมด เพียงเตรียมเอกสารให้ครบเราสามารถดำเนิน ณ จุดเดียวกันได้เลย คือที่โรงพบาบาลที่เราเข้ารักษาตัว ไม่ว่าจะเป็นโรงพบาบาลรัฐหรือเอกชน
สนใจสมัครสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์ ร่วมทีมกับพี่เม่น
ศึกษาสิทธิประโยชน์ของสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์
ติดต่อได้ที่
Line ID : @srikrung168
หรือโทร 0-654-088-088
Comments