top of page
รูปภาพนักเขียนตฤณ พัฒนเวโรจน์

แนวข้อสอบนายหน้าประกันชีวิต

อัปเดตเมื่อ 14 ส.ค. 2565




1. โดยปกติเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทเรียกเก็บจากผู้เอาประกัน

ก) สูงขึ้นทุกปี

ข) สูงขึ้นในระยะแรก และลดลงในระยะปลาย ค) คงที่ทุกปี

ง) แล้วแต่อัตราใหม่ที่บริษัทอาจเปลี่ยนแปลง


คำตอบ :



2. ผู้เอาประกันภัยสามารถเปลี่ยนแบบกรมธรรม์ประกันภัยจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่งได้หรือไม่

ก) ไม่ได้ เพราะต้องได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนเป็นรายๆ

ข) ไม่ได้ เพราะเบี้ยประกันภัยแต่ละแบบไม่เท่ากัน

ค) ได้ โดยได้รับความยินยอมจากบริษัท

ง) ได้ แต่ต้องให้กรมธรรม์มีมูลค่าตามกรมธรรม์


คำตอบ :



3. จรรยาบรรณข้อใดที่นายหน้าประกันชีวิตควรปฎิบัติมากที่สุดในการขายประกันชีวิต

ก) ลดเบี้ยประกันภัย เพื่อช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยให้จ่ายเบี้ยประกันภัยลดลง

ข) ช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยให้ได้ทำประกันชีวิต

ค) แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยทำประกันภัย โดยมีจำนวนเงินเอาประกันชีวิตที่สูงมากเพื่อจะได้ผลประโยชน์สูงสุด

ง) ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอ และชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย


คำตอบ :



4. เมื่อกรมธรรม์ประกันภัยขาดอายุแล้ว ผู้เอาประกันภัย จะขอต่ออายุสัญญาได้หรือไม่

ก) ได้ ถ้าผู้เอาประกันภัยขอต่ออายุสัญญาภายในระยะเวลากำหนด

ข) ได้ตลอดเวลา โดยชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระทั้งหมดรวมดอกเบี้ย

ค) ได้ตลอดเวลา โดยชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระทั้งหมด

ง) ไม่มีข้อใดถูกต้อง


คำตอบ :



5. นาย ก ได้ทำประกันชีวิตกับบริษัทแห่งหนึ่ง มีความต้องการเปลี่ยนแบบกรมธรรม์ใหม่ เพราะเห็นว่ามีประโยชน์มากกว่า แล้วมาปรึกษาท่านซึ่งเป็นนายหน้าประกันชีวิต ท่านควรให้ข้อเสนอแนะอย่างไร

ก) เปลี่ยนไปตามความประสงค์ของนาย ก จึงจะนับได้ว่า เป็นนายหน้าประกันชีวิตที่ให้บริการที่ดี

ข) ให้เปลี่ยนแบบกรมธรรม์ให้นาย ก เพราะเป็นความต้องการของนาย ก ไม่ใช่ท่านเป็นผู้แนะนำให้เปลี่ยน

ค) ให้เปลี่ยนแบบกรมธรรม์ให้นาย ก เพราะเป็นหน้าที่ของบริษัทมอบหมายให้ชี้ช่องให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิต

ง) ไม่ควรให้ผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิมเพื่อทำสัญญาใหม่ เพราะจะทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์


คำตอบ : ง



6. การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ธรรมดา ถ้าอายุผู้เอาประกันภัยเท่ากับภัยมาตรฐานและมีจำนวนเงินเอาประกันภัยเท่ากันแบบใด ต้องชำระเบี้ยประกันมากสุด

ก) สะสมทรัพย์ 20/20

ข) สะสมทรัพย์ 10/10

ค) สะสมทรัพย์ 15/15

ง) เท่ากันทั้ง 3 แบบ

คำตอบ : ข



7. นาย ก เป็นนายหน้าประกันชีวิตชี้ช่องให้นาย ข ซึ่งเป็นเพื่อนสนิททำประกันชีวิต ถึงแม้จะเป็นเพื่อนสนิท นาย ก ก็มิได้ลดค่าบำเหน็จให้นาย ข แต่นาย ก ได้นำเงินบำเหน็จดังกล่าวไปใช้จ่ายส่วนตัว ท่านคิดว่านาย ก ทำผิดจรรยาบรรณหรือไม่

ก) ไม่ผิด เพราะไม่ได้ลดค่าบำเหน็จเพื่อจูงใจให้ทำประกันชีวิต

ข) ผิด เพราะไม่ได้ทำให้นาย ข เสียประโยชน์

ค) ผิด เพราะนาย ก ลดค่าบำเหน็จให้นาย ข นอกจากจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่นาย ข ยังเป็นการช่วยเพื่อนอีกด้วย

ง) ผิด เพราะอาจทำให้กรมธรรม์ขาดผลบังคับ ถ้าหากผู้เอาประกันภัยไม่ชำระเบี้ยประกันภัย


คำตอบ : ก



8. ข้อใดเป็นประโยชน์ของการประกันชีวิตที่มีต่อครอบครัว

ก) เพื่อการศึกษาของบุตร

ข) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของคู่ชีวิตที่เป็นหม้าย

ค) เพื่อเป็นรายได้ ในยามเดือดร้อน

ง) ถูกทุกข้อ


คำตอบ :



9. ในจำนวนเงินเอาประกันภัยแบบประกันชีวิตที่เท่ากัน อัตราเบี้ยประกันภัยจะเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัย แต่มีปัจจัยในการพิจารณารับประกันชีวิตบางอย่างที่อาจทำให้เบี้ยประกันภัยเพิ่มขึ้นได้

ก) ประวัติการศึกษา

ข) ส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย

ค) ฐานะการเงิน

ง) ประวัติสุขภาพ


คำตอบ : ง



10. ตารางมรณะไทยที่บริษัทใช้ในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยมาจาก

ก) อัตรามรณะของผู้เอาประกันชีวิตที่แยกตามสาเหตุการเสียชีวิต

ข) อัตรามรณะของประชากรแยกตามอายุต่างๆ

ค) อัตรามรณะของผู้เอาประกันชีวิตที่แยกตามเพศ และอายุ

ง) อัตรามรณะของผู้เอาประกันชีวิตที่แยกตามอาชีพ


คำตอบ :



11. คุณสมบัติของการเป็นนายหน้าประกันชีวิตข้อหนึ่งบอกว่า นายหน้าประกันชีวิตต้องมีความซื่อสัตย์ จริงใจต่อผู้เอาประกันภัย และเพื่อนร่วมอาชีพ ข้อใดต่อไปนี้ที่จะแสดงให้เห็นว่านายหน้าประกันชีวิตมีความจริงใจในการช่วยเหลือผู้เอาประกันภัย แต่ประพฤติผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมของผู้ประกอบอาชีพนายหน้าประกันชีวิต

ก) ผู้เอาประกันภัยยังไม่มีเงินชำระเบี้ยประกันภัยงวดถัดไป จึงเสนอให้ความช่วยเหลือโดยการพาผู้เอาประกันภัยไปกู้เงินจากบริษัท เพื่อนำมาชำระเบี้ยประกันภัย

ข) ไปบริการเก็บเบี้ยประกันภัยทุกงวดอย่างสม่ำเสมอและคอยให้ความช่วยเหลือในการติดต่อกับบริษัทแทนผู้เอาประกันภัย

ค) เป็นนายหน้าประกันชีวิตที่มีอุดมการณ์ว่าต้องสร้างสรรค์สังคมและหาวิถีทางที่จะให้กลไกของการประกันชีวิตได้รับใช้สังคมมากที่สุด โดยการชี้ช่องให้ครอบครัวที่มีรายได้น้อยทำประกันชีวิตที่มีแต่ความคุ้มครองการเสียชีวิตเท่านั้น เนื่องจากเบี้ยประกันภัยต่ำ

ง) ผู้ขอเอาประกันชีวิตมีภาระต้องใช้เงินมากในขณะที่จะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยงวดแรก จึงให้ความช่วยเหลือโดยการลดเงินค่าบำเหน็จจากเบี้ยประกันชีวิตให้ครึ่งหนึ่งเพื่อเป็นการจูงใจให้ทำประกันชีวิต


คำตอบ : ง



12. ข้อใดต่อไปนี้คือความหมายของการเสี่ยงภัยในแง่ของการประกันชีวิต

ก) ความเป็นไปได้ที่จะประสบอุบัติเหตุทำให้เสียชีวิต

ข) โอกาสที่จะเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเนื่องจากโรคภัยไข้เจ็บ

ค) ความเป็นไปได้ที่ทุกคนจะประสบกับการสูญเสียรายได้ในอนาคต

ง) ถูกทั้งข้อ ก และ ข


คำตอบ : ง



13. ความหมายของการประกันชีวิตคือข้อใด

ก) วิธีการร่วมป้องกันภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ข) วิธีการร่วมกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องจากการเสียชีวิต สูญูเสียอวยัวะและทุพพลภาพ

ค) วิธีการขจัดภัยที่เกิดขึ้นในอนาคต

ง) วิธีการร่วมกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ


คำตอบ : ข



14. นาย ก เป็นนายหน้าประกันชีวิตได้จัดการให้นาย ข เพื่อนของตนทำประกันชีวิต และในใบคำขอเอาประกันชีวิต นาย ข กรอกข้อมูล ว่ามีบิดาป่วยเป็นโรคร้ายแรงระยะเริ่มต้น นาย ก รู้ดีว่าเพื่อนผู้นี้ต้องดูแลบิดาทุกวันอย่างใกล้ชิด และเห็นว่าเพื่อนๆ ไม่รู้เรืองการป่วยของบิดานาย ข จึงเป็นห่วงเพื่อนๆ คนอื่นซึ่งรับประทานอาหารกับนาย ข ทุกวัน และกลัวว่าเพื่อนอาจมีโอกาสรับเชื้อโรคจาก นาย ข จึงบอกกล่าวแก่เพื่อนๆ การกระทำของนาย ก ผิด หรือ ถูก ตามจรรยาบรรณอาชีพนายหน้าประกันชีวิต เพราะอะไร

ก) ผิด เพราะว่า เปิดเผยความลับของผู้เอาประกันภัยต่อบุคคลภายนอก

ข) ถูก เพราะว่า มีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อเพื่อนร่วมอาชีพ

ค) ผิด เพราะว่า มีพฤติกรรมที่ตั้งใจยั่วยุให้เกิดความรังเกียจเพื่อน

ง) ผิด จรรยาบรรณอาชีพนายหน้าประกันชีวิตตามเหตุผลที่กล่าวถึงในข้อ ก และข้อ ค รวมกัน


คำตอบ :



15. นาย ก ทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 15/10 จำนวนเงินเอาประกันภัย 100,000 บาท ชำระเบี้ยประกันภัยรายงวด 3 เดือน กรมธรรม์เริ่มมีผลบังคับ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2530 ชำระเบี้ยประกันภัยถึงปีที่ 3 งวด 3 และนาย ก มาขอเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2534 นาย ก จะได้รับเงินเท่าไร (มูลค่าเวนคืนเงินสด ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 3 = 96 บาท/จำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000 บาท มูลค่าเวนคืนเงินสด ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 4 = 157 บาท/จานวนเงินเอาประกัน 1,000 บาท)

ก) 9,600 บาท

ข) 15,700 บาท

ค) 14,175 บาท

ง) 11,125 บาท


คำตอบ : ค



16. การประกันชีวิตแบบใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการประกันวินาศภัยมากที่สุด

ก) แบบสะสมทรัพย์

ข) แบบชั่วระยะเวลา

ค) แบบตลอดชีพ

ง) แบบบำนาญ


คำตอบ : ข



17. การประกันชีวิตชนิดมีเงินปันผลและชนิดไม่มีเงินปันผลมีลักษณะที่แตกต่างกัน คือ

ก) ระยะเวลาของการชำระเบี้ยแตกต่างกัน

ข) ระยะเวลาคุ้มครองแตกต่างกัน

ค) จำนวนเงินเอาประกันภัยแตกต่างกัน

ง) อัตราเบี้ยประกันภัยแตกต่างกัน


คำตอบ : ง



18. ในขณะที่กรมธรรม์ยังมีผลบังคับผู้เอาประกันภัยต้องการกู้เงินจากบริษัท ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้สิทธิในการกู้เงินจากบริษัท เมื่อ

ก) ยื่นความจำนงต่อบริษัทได้ทุกเวลา

ข) ผู้รับประโยชน์ใช้สิทธิในการกู้เงินจากบริษัท

ค) กรมธรรม์มีมูลค่าเวนคืนเงินสด โดยกู้เงินได้ไม่เกินจำนวนเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ขณะนั้น ง) บริษัทยินยอม


คำตอบ : ค



19.​ ผู้รับประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยรายหนึ่งได้ไปติดต่อขอรับเงินกรณีผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรมปรากฏว่าบริษัทแจ้งว่ากรมธรรม์ สิ้นสุดระยะเวลาขยายไปแล้ว 3 เดือน บริษัทไม่ต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ หมายความว่า

ก) ผู้เอาประกันภัยได้เวนคืนกรมธรรม์ขอรับเงินสดคืนไปเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว

ข) ผู้เอาประกันภัยได้เปลี่ยนกรมธรรม์เป็นแบบใช้เงินสำเร็จและสิ้นสุด ระยะเวลาคุ้มครองไปแล้ว 3 เดือน

ค) ผู้เอาประกันภัยได้เปลี่ยนกรมธรรม์เป็นแบบขยายเวลา และสิ้นสุด ระยะเวลาคุ้มครองไปแล้ว 3 เดือน

ง) ผู้เอาประกันภัยขาดชำระเบี้ยประกันภัยเกินระยะเวลาผ่อนผันไปแล้ว 3 เดือน


คำตอบ : ค



20. การประกันชีวิตแบบตลอดชีพชำระเบี้ยประกันภัย 20 ปี ผู้เอาประกันภัยขอเวนคืนกรมธรรม์เพื่อขอรับเงินสดได้หรือไม่

ก) ได้ ถ้าได้ชำระเบี้ยประกันภัย และมีมูลค่าเงินสด

ข) ได้ เพราะเบี้ยประกันชีวิตสูง

ค) ไม่ได้

ง) ไม่ได้ เพราะเบี้ยประกันชีวิตต่ำ ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์


คำตอบ : ก



21. นาย ก ทำประกันชีวิตไว้กับนาย ข ต่อมาเมื่อครบปีแล้วนาย ข จึงเรียกเก็บเงินเบี้ยประกันชีวิตปีสองจากนาย ก แต่เนื่องจากนาย ก กำลังมีปัญหาเรื่องหนี้สินอันเกิดจากการลงทุนผิดพลาด และยังไม่สามารถชำระเงินได้ในขณะนั้น นาย ข จึงนำเรื่องมาบอกแก่บริษัทประกันชีวิตเพื่อขอขยายเวลาชำระเบี้ยประกันชีวิต ดังนี้นาย ข กระทำผิดจรรยาบรรณนายหน้าหรือไม่

ก) ผิด เพราะนาย ข นำเรื่องความผิดพลาดของนาย ก มาบอกแก่ผู้อื่น

ข) ผิด เพราะนาย ก ไม่ชำระเบี้ยประกันตามกำหนดเป็นความผิดพลาดของนาย ก เอง

ค) ไม่ผิด เพราะเป็นเรื่องปกติที่นายหน้าจะหาทางแก้ปัญหาให้ผู้เอาประกันภัย

ง) ไม่ผิด เพราะบริษัทประกันชีวิตไม่ใช่บุคคลภายนอก


คำตอบ : ง



22. หากท่านสอบผ่านได้เป็นนายหน้าประกันชีวิต ท่านคิดว่าจำเป็นหรือไม่ที่ท่านจะต้องหาความรู้เกี่ยวกับการประกันชีวิตเพิ่มเติม

ก) ไม่จำเป็น เพราะต่อไปจะทำหน้าที่ขายประกันชีวิตอย่างเดียว

ข) ไม่จำเป็น เพราะเมื่อสอบผ่านแล้วแสดงว่ามีความรู้เพียงพอแล้ว

ค) จำเป็น เพราะควรจะมีความรู้ให้กว้างขวางและข่าวสารที่ทันสมัยจะได้อธิบายลูกค้าได้

ง) จำเป็น เพราะต้องการเข้าสังคม


คำตอบ : ค



23. นาย ก จะเอาประกันชีวิต นาง ข ซึ่งเป็นภรรยา โดยระบุให้นาย ก เป็นผู้รับประโยชน์ ต่อมา นาย ก ได้หย่าขาดจากนาง ข และนาง ข ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต นาย ก จะได้รับเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่

ก) ไม่ได้ เพราะได้หย่าขาดกันแล้ว

ข) ไม่ได้ เพราะนาย ก ไม่มีส่วนได้เสียในชีวิต นาง ข

ค) ได้รับ เพราะเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ

ง) ได้รับเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย เพราะนาย ก มีส่วนได้เสียในชีวิต นาง ข ในขณะทำสัญญาประกันภัย


คำตอบ : ง



24. การประกันชีวิตประเภทสามัญ มีระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ยกี่วัน

ก) 15 วัน

ข) 31 วัน

ค) 60 วัน

ง) 120 วัน


คำตอบ : ข



25. ถ้าผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตถึงแก่มรณะก่อนผู้เอาประกันภัย สัญญาประกันชีวิตจะเป็นอย่างไร

ก) สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆะ

ข) สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะ

ค) สัญญาประกันชีวิตไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา

ง) สัญญาประกันชีวิตยังคงมีผลบังคับโดยสมบูรณ์ โดยผู้เอาประกันภัยอาจแจ้งขอเปลี่ยนแปลงผ้รูับประโยชน์ใหม่ได้


คำตอบ : ง



26. การยื่นคำขอต่อใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตผู้ขอต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามแบบที่ผู้ใดกำหนด

ก) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ข) ปลัดกระทรวงพาณิชย์

ค) ปลัดกระทรวงการคลัง

ง) นายทะเบียน


คำตอบ : ง



27. หากนายหน้าประกันชีวิตไม่แสดงใบอนุญาตการเป็นนายหน้าทุกครั้งที่มีการชี้ช่องให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตหรือรับเบี้ยประกันภัยในนามบริษัทประกันชีวิตต้องมีโทษดังนี้

ก) ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

ข) ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

ค) ปรับไม่เกินสามหมื่นบาท

ง) ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท


คำตอบ : ค



28. บิดาทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ระยะเวลาเอาประกันภัย 25 ปี ให้บุตร โดยบุตรเป็นผู้เอาประกันภัย และบิดาเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียว เป็นเงิน 120,000 บาท อยากทราบว่าบิดาสามารถนำค่าเบี้ยประกันภัยนี้ไปหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้หรือไม่

ก) ไม่ได้

ข) ได้ เป็นเงิน 100,000 บาท

ค) ได้ เป็นเงิน 120,000 บาท

ง) ได้ เป็นเงิน 50,000 บาท


คำตอบ : ก



29. ตามสัญญาประกันภัย เงินที่ผู้เอาประกันภัยต้องส่งให้กับผู้รับประกันภัยเรียกว่าอย่างไร

ก) ค่าสินไหมทดแทน

ข) ดอกเบี้ย

ค) เบี้ยประกันภัย

ง) ค่าธรรมเนียม


คำตอบ : ค



30.​ นางน้ำได้ทำประกันชีวิตไว้กับบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่ง จำนวนเงินเอาประกันภัย 1,000,000 บาท ระบุนางนาเป็นผู้รับประโยชน์ ซึ่งนางนาได้รับกรมธรรม์ประกันชีวิตและแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์ตามสัญญาเป็นหนังสือไปยังบริษัทนั้นแล้ว ต่อมาปรากฏว่านางนาเสียชีวิต และต่อมานางน้ำได้เสียชีวิตลง สิทธิในเงินตามสัญญาประกันชีวิตจะตกเป็นของใคร

ก) ตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของนางนา

ข) ตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของนางน้ำ

ค) ตกทอดเป็นทรัพย์มรดกแก่ยังทายาทนางนาและนางน้ำ

ง) ไม่ตกทอดเป็นทรัพย์มรดกจนกว่าจะมีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล


คำตอบ : ข



31. การประกันชีวิตประเภทอุตสาหกรรมมีเงื่อนไขให้ความคุ้มครองการประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุในกรมธรรม์ฉบับเดียวกันจะเลือกซื้อเฉพาะการประกันชีวิตไม่ได้ เพราะเหตุใด

ก) ผู้เอาประกันภัยประเภทนี้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูงมาก

ข) อัตราเบี้ยประกันภัยประเภทอุตสาหกรรมที่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนเป็นอัตราเบี้ยประกันภัยที่ร่วมการประกันชีวิตและการประกันอุบัติเหตุ ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้

ค) การประกันชีวิตประเภทนี้ไม่ตรวจสุขภาพจึงต้องประกันอุบัติเหตุด้วย

ง) ทำให้ผู้เอาประกันภัยจ่ายเบี้ยประกันภัยต่ำ แต่จำนวนเงินเอาประกันภัยสูง


คำตอบ : ข



32.​ การทำประกันชีวิตนั้น ผู้ที่จะเอาประกันชีวิตบุคคลอื่นได้นั้น จะต้องมีส่วนได้เสียกับบุคคลใดต่อไปนี้ตามสัญญาประกันภัย

ก) ผู้รับประกันภัย

ข) ผู้รับประโยชน์

ค) ผู้เอาประกันภัย

ง) ข้อ ก. ข. และ ค. ถูก


คำตอบ : ค



33. การประกันชีวิตประเภทใดที่ไม่มีการตรวจสุขภาพ

ก) ประเภทสามัญ ประเภทอุตสาหกรรม

ข) ประเภทสามัญ ประเภทกลุ่ม

ค) ประเภทอุตสาหกรรม

ง) ถูกทั้ง 3 ข้อ


คำตอบ : ค



34. นาย ก ทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ และซื้อความคุ้มครองการประกันชีวิต และประกันอุบัติเหตุแนบมาในกรมธรรม์ด้วย หากนาย ก อยู่ครบสัญญาจะได้เงินเอาประกันชีวิตเป็นจำนวนเงินประกันชีวิตเท่าใด

ก) เท่ากับ จำนวนเงินเอาประกันภัย

ข) สองเท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย

ค) สามเท่าของจำนวนเงินเอาประกันภัย

ง) ไม่ต้องจ่ายจำนวนเงินใดๆ เลย


คำตอบ : ก



35. ข้อใดเป็นสิ่งที่นายหน้าประกันชีวิตไม่พึงปฏิบัติ

ก) ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมนายหน้าฯ หรือ บริษัทอื่น

ข) ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จเพื่อจงูใจให้เอาประกันภัย

ค) เปิดเผยข้อความจริงของผู้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการพิจารณารับประกันภัย

ง) รักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยและของบริษัทต่อบุคคลภายนอก


คำตอบ : ข



36. กรมธรรม์ประกันภัยแบบเงินได้ประจำ เหมาะสำหรับบุคคลที่

ก) ต้องการสร้างฐานะ

ข) ต้องการความคุ้มครองระยะสั้น

ค) มีรายได้น้อย

ง) ต้องการเงินไว้ใช้จ่ายยามชรา


คำตอบ : ง



37.​ การประกันชีวิตแบบใดที่บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แกผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ก่อนสัญญาครบกำหนดหรือมีชีวิตอยู่รอดจนสัญญาครบกำหนด

ก) แบบสะสมทรัพย์

ข) แบบชั่วระยะเวลา 20ปี

ค) แบบตลอดชีพ

ง) แบบตลอดชีพ มีเงินปันผล


คำตอบ : ก



38. ผู้เอาประกันภัยที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์เหมือนคนทั่วไป แต่บริษัทประกันชีวิตพิจารณาแล้วสามารถรับประกันชีวิตได้ผู้เอาประกันภัยคนนั้น

ก) ต้องแจ้งผลการตรวจสุขภาพให้บริษัททราบทุกปี

ข) ต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราปกติ เพราะบริษัทตกลงรับประกันชีวิตแล้ว

ค) ต้องชำระเบี้ยประกันภัยเพิ่มกว่าอัตราปกติ

ง) ไม่ต้องแจ้งผลการตรวจสุขภาพ แต่ต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราปกติ


คำตอบ : ค



39. บุคคลใดต่อไปนี้ที่บริษัทสามารถพิจารณารับประกันชีวิตได้

ก) คนวิกลจริต

ข) นิติบุคคล

ค) ผู้เยาว์ที่มีสุขภาพสมบูรณ์

ง) คนที่อายุเกินอัตราเบี้ยประกันภัยที่บริษัทประกันชีวิตกำหนด


คำตอบ : ค



40. สัญญาประกันชีวิตจะตกเป็นโมฆียะ ในกรณีดังต่อไปนี้

ก) ผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งถ้าหากผู้รับประกันภัยทราบความจริงอาจบอกปัดไม่ยอมรับประกันชีวิต

ข) ผู้เอาประกันภัยแถลงข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งถ้าหากผู้รับประกันภัยทราบความจริงจะต้องเพิ่มเบี้ยประกันภัยขึ้นอีก

ค) ผู้เอาประกันภัยแถลงอายุคลาดเคลื่อน และอายุที่ถูกต้องแท้จริงอยู่นอกจากอัตราตามทางการค้าปกติของผู้รับประกันภัย

ง) ถูกทั้งข้อ ก. ข. ค.


คำตอบ : ก



41. ในขณะนี้ปัญหาของนายหน้าประกันชีวิตที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือการที่เก็บเบี้ยประกันภัยแล้วไม่ส่งเข้าบริษัท ถ้าท่านเป็นนายหน้าประกันชีวิตที่มีความมุ่งมั่นในอาชีพ ท่านจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไร

ก) ไม่กระทำพฤติกรรมดังกล่าว

ข) มีความซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย บริษัทและเพื่อนร่วมอาชีพ

ค) พยายามแก้ไขภาพพจน์ ด้วยการชักชวนเพื่อนร่วมอาชีพไม่ให้กระทำพฤติกรรมดังกล่าว

ง) ถูกทุกข้อ


คำตอบ : ง



42. นาย ก เป็นนายหน้าประกันชีวิตซึ่งบริการลูกค้าของตนเองดีมาก แต่นาย ก มีนิสัยเจ้าชู้และมีภรรยาหลายคน พฤติกรรมของนาย ก นี้ผิดจรรยาบรรณและศีลธรรมของนายหน้าประกันชีวิตหรือไม่

ก) ผิด เพราะไม่ได้ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม

ข) ไม่ผิด เพราะ นาย ก ยังให้บริการที่ดีแก่ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ

ค) ไม่ผิด เพราะเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวต้องแยกออกจากกัน

ง) ผิด เพราะเมื่อมีพฤติกรรมเช่นนี้ก็จะมีค่าใช้จ่ายมาก อาจเป็นผลก่อให้เกิดการทุจริตในเรื่องเงินได้


คำตอบ : ง



43. ในฐานะที่ท่านเป็นนายหน้าประกันชีวิต ท่านควรจะแนะนำผู้เอาประกันภัยอย่างไร

ก) แนะนำให้ผู้เอาประกันภัย เข้าใจถึงเงื่อนไขและผลประโยชน์ที่จะได้รับก่อนลงชื่อในใบคำขอทำประกันชีวิต

ข) แนะนำให้ผู้เอาประกันภัย ทำประกันชีวิต โดยมีจำนวนเงินเอาประกันชีวิตที่สูงมากเพื่อจะได้ประโยชน์สูงสุด

ค) แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยเข้าใจว่านายหน้าประกันชีวิตเป็นผู้ต้องรับผิดชอบในการเก็บเบี้ยประกันชีวิตทุกงวด

ง) ถูกทุกข้อ


คำตอบ : ก



44. ข้อใดต่อไปนี้ที่บริษัทประกันชีวิตไม่ต้องจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัย เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต

ก) ผู้เอาประกันภัยฆ่าตัวตายในปีที่ 2 นับแต่วันทำสัญญา

ข) ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุในระยะเวลารอคอย

ค) ผู้เอาประกันภัยถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา

ง) ถูกทุกข้อ


คำตอบ : ค



45. ใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตมีอายุใช้ได้ถึงเมื่อใดสำหรับการออกใบอนุญาตในครั้งแรก

ก) ตลอดชีพ

ข) หนึ่งปีนับจากวันที่ออกใบอนุญาต

ค) สองปีนับจากวันที่ออกใบอนุญาต

ง) สามปีนับจากวันที่ออกใบอนุญาต


คำตอบ : ข



46. ท่านคิดว่าข้อใดถูกที่สุด

ก) นายหน้าประกันชีวิตที่ดีจะต้องไม่กล่าวให้ร้ายต่อนายหน้าประกันชีวิตอื่นที่ประกอบอาชีพเดียวกับตน

ข) นายหน้าประกันชีวิตที่ดีจะต้องไม่กล่าวให้ร้ายต่อนายหน้าประกันชีวิตอื่นและบริษัทประกันชีวิต

ค) นายหน้าประกันชีวิตที่ดีจะต้องยึดมั่นในอุดมการณ์ของการเป็นนายหน้าประกันชีวิตที่ดี

ง) ถูกทุกข้อ


คำตอบ : ง



47. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่มีความจำเป็นต้องกรอกในใบคำขอเอาประกันชีวิต

ก) อาชีพผู้ขอเอาประกันภัย

ข) ที่อยู่ผู้ขอเอาประกันภัย

ค) อายุของคู่สมรส

ง) สุขภาพของผู้เอาประกันภัย


คำตอบ : ค



48. นาย ก ได้ทำประกันชีวิตกับบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งโดยได้แจ้งแก่นายหน้าประกันชีวิตว่าตนเป็นโรคเบาหวาน นายหน้าประกันชีวิตเกรงว่าถ้าแจ้งความจริงให้บริษัททราบแล้วจะทำให้การพิจารณารับประกันภัยของบริษัทฯ ล่าช้าจึงไม่แจ้งแก่บริษัท ในกรณีนี้นายหน้าประกันชีวีตทำถูกหรือไม่

ก) ถูก เนื่องจากเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ขอทำประกันชีวิต

ข) ถูก เนื่องจากนายหน้าต้องการรักษาความลับของผู้เอาประกันภัย

ค) ผิด เนื่องจากนายหน้าไม่เปิดเผยข้อความจริงของนาย ก แก่บริษัทในส่วนที่เป็นสาระสำคัญในการพิจารณารับประกันภัย

ง) ผิด เนื่องจากนายหน้าเสนอขายกรมธรรม์โดยไม่แจ้งเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์


คำตอบ : ค



49. กรณีที่ผู้เอาประกันภัยมีสุขภาพไม่สมบูรณ์บริษัทจะคำนวณเบี้ยประกันภัยอย่างไร

ก) เพิ่มตามความเสี่ยงของอัตรามรณะที่เพิ่มขึ้น

ข) เพิ่มในอัตราถดถอย

ค) เพิ่มในอัตราคงที่

ง) เพิ่มในอัตราก้าวหน้า


คำตอบ : ก



50. ใบคำขอเอาประกันชีวิตสำคัญอย่างไร

ก) เพื่อเป็นหลักฐานในการแสดงเจตนาทำประกันชีวิต

ข) เพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกค่าเสียหาย

ค) เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเสียภาษี

ง) ผิดทุกข้อ


คำตอบ : ก



51. บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าแก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัทได้หรือไม่

ก) ไม่ได้ เพราะพระราชบัญญัติประกันชีวิตห้ามไว้

ข) ไม่ได้ เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน

ค) ได้ เพราะพระราชบัญญัติประกันชีวิตไม่ได้ห้ามไว้

ง) ไม่ได้ เว้นแต่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง


คำตอบ : ก



52. นายแสง อายุ 25 ปี สัญชาติไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศกัมพูชา ได้สอบความรู้เกี่ยวกับประกันชีวิตได้แล้ว จึง มายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิต ดังนี้นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตให้นายแสงหรือไม่ เพราะเหตุใด

ก) ได้ เพราะขอรับใบอนุญาตมีสัญชาติไทยและบรรลุนิติภาวะแล้ว

ข) ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีภูมิลำเนาในประเทศไทย

ค) ไม่ได้เนื่องจากผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีภูมิลำเนาในประเทศไทย

ง) ถูกทั้งข้อ ก และ ข้อ ข


คำตอบ : ค



53.​ นายขาว นายหน้าประกันชีวิตถูกฟ้องคดีฐานปล้นทรัพย์ ศาลยกฟ้อง นายขาวขาดคุณสมบัติในการขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตหรือไม่

ก) ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากถูกฟ้องคดีฐานปล้นทรัพย์

ข) ไม่ขาดคุณสมบัติ เนื่องจากไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในคดีดังกล่าว

ค) ไม่ขาดคุณสมบัติ เนื่องจาก พรบ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.ประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 ไม่ได้บัญญัติไว้

ง) ขาดคุณสมบัติเพราะยังไม่พ้นโทษ


คำตอบ : ข



54. นายใจได้รับคำสั่งนายทะเบียนเพิกถอนใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2541 นายใจมีความประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่เท่าใด

ก) 16 กันยายน 2541

ข) 1 ตุลาคม 2541

ค) 31 ตุลาคม 2541

ง) 30 พฤศจิกายน 2541


คำตอบ : ก



55. รายการในใบเสร็จรับเงินตามกฎหมายอาจไม่มีรายการใดต่อไปนี้ได้

ก) ชื่อบริษัท

ข) ชื่อผู้ชำระเบี้ยประกันภัย

ค) ชื่อผู้เอาประกันภัย

ง) ไม่มีข้อถูก


คำตอบ : ง



56.​ นาย ก ทำสัญญาประกันชีวิตโดยให้นาง ข ภริยาเป็นผู้รับประโยชน์และมอบกรมธรรม์ให้นาง ข. ไว้ ต่อมานาง ข. ทะเลาะกับนาย ก เนื่องจากรู้ว่า นาย ก ไปมีภริยาน้อย และกำลังจะเปลี่ยนให้ลูกของภริยาน้อยเป็นผู้รับประโยชน์ในกรมธรรม์แทน นาง ข. จึงส่งจดหมายแจ้งบริษัทประกันชีวิต ห้ามบริษัทรับแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้รับประโยชน์ ต่อมาภายหลัง นาย ก. มาติดต่อบริษัทและแจ้งให้ ด.ช.แดง ซึ่งเป็นบุตรตนกับภริยาน้อยเป็นผู้รับประโยชน์แทน บริษัทเห็นว่า ด.ช.แดง เป็นทายาทนาย ก. เป็นผู้มีส่วนได้เสีย จึงออกบันทึกสลักหลังให้ นาย ก. ไว้ หลังจากนั้น 1 ปี นาย ก.เสียชีวิต บริษัทได้จ่ายเงินให้แก่ ด.ช.แดง เป็นการถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือไม่

ก) ถูกต้องแล้ว เพราะนาย ก. เป็นเจ้าของกรมธรรม์ และ ด.ช.แดง เป็นบุตรมีสิทธิเป็นผู้รับประโยชน์สามารถแก้ไขเปลี่ยนเจตนาได้

ข) ถูกต้องแล้ว เพราะได้มีการแจ้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงถูกต้องตามเงื่อนไขสัญญาและบริษัทยินยอมแล้ว

ค) ไม่ถูกต้อง เพราะ นาง ข. มีสิทธิเป็นผู้รับประโยชน์อยู่ก่อน และได้แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์แล้ว แม้ว่าเจ้าของกรมธรรม์ก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้

ง) ไม่ถูกต้อง เพราะต้องจ่ายให้ทั้งนาง ข. และ ด.ช.แดง เพราะทั้งสองต่างก็มีสิทธิเป็นผู้รับประโยชน์ทั้งคู่


คำตอบ : ค



57. สัญญาประกันชีวิตเกิดขึ้นเมื่อใด

ก) ผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์

ข) บริษัทออกกรมธรรม์ให้

ค) ผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ย

ง) บริษัทตกลงรับประกันภัย แม้มิได้มีลายลักษณ์อักษร


คำตอบ :




ดู 1,500 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page