สวัสดีครับ พี่เม่นจาก srikrung168.com นะครับ คลิปนี้พี่เม่นจะพูดถึงต้นทุนในการประกอบอาชีพนายหน้าประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันชีวิต ที่บางคนบอกว่าไม่ต้องลงทุนอะไรเลยเป็นความจริงรึเปล่า พี่เม่นจะมาอธิบายให้ฟังในคลิปนี้ครับ
จริงหรือครับที่เราจะทำงานอะไรได้รายได้มาโดยที่ไม่ต้องลงทุนเลย ในความคิดเห็นของพี่เม่นนะครับ ต้นทุนของแต่ละคนอาจจะไม่เท่ากันเพราะบริบทของแต่ละคนมีความแตกต่าง แต่ทุกอาชีพมีต้นทุนหมดครับ แม้แต่พนักงานบริษัท อย่างน้อยคุณก็มีต้นทุนค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้า ค่าอาหาร ระหว่างที่เราไปปฎิบัติหน้าที่ของเราใช่มั้ยครับ พวกนั้นก็คือต้นทุนทั้งหมด
คราวนี้มาพูดถึงในส่วนต้นทุนของอาชีพนายหน้าประกันวินาศภัย และนายหน้าประกันชีวิต ที่ส่งงานกับศรีกรุงโบรคเกอร์มีต้นทุนอะไรบ้าง พี่เม่นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ครับ
ส่วนที่ 1 ต้นทุนในส่วนใบอนุญาต
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เหล่านั้นได้แก่
ค่าสอบใบอนุญาต ถ้าสอบกับ คปภ มีค่าใช้จ่ายครั้งละ 200 บาท แต่ศรีกรุงโบรคเกอร์ก็มีบริการสอบใบอนุญาตให้กับสมาชิกด้วยครับ ถ้าหากสอบกับ ศรีกรุงโบรคเกอร์ มีค่าใช้จ่ายครั้งละ 700 บาท สาเหตุที่สอบกับศรีกรุงโบรคเกอร์แพงว่า เพราะว่า ศรีกรุงต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการสอบให้กับ คปภ และมีค่าเช่าสถานที่ในการจัดสอบให้กับเจ้าของสถานที่ด้วยครับ แต่คนที่สอบกับศรีกรุงโบรคเกอร์ก็สะดวกขึ้นไม่ต้องแย่งลงทะเบียนสอบ ซึ่งในความคิดของพี่เม่นคือ การจองที่นั่งสอบยากกว่าการสอบเสียอีก ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการเตรียมตัวของเราครับ ถ้าเราเตรียมตัวไม่ดีอาจจะต้องสอบหลายครั้งหน่อย แต่ถ้าเตรียมตัวดีและถูกวิธี มีคนจำนวนมากเลยที่สอบครั้งเดียวผ่าน รวมถึงลูกทีมของพี่เม่นหลาย ๆ คนด้วย ก็จ่ายเท่านั้นครับไม่เกิน 700 บาท
ค่าอบรมขอรับใบอนุญาต เงื่อนไขของการมีใบอนุญาต จะต้องครบทั้ง 2 อย่างก็คือ สอบผ่าน และผ่านการอบรมขอรับใบอนุญาต โดยจะทำอย่างใดก่อนหลังก็ได้ ไม่มีผลอะไร ปกติแล้วศรีกรุงโบรคเกอร์ก็มี จัดอบรมขอรับใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิต และอบรมขอรับใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยแบบ Classroom ที่โรงแรมใกล้สาขาของศรีกรุงโบรคเกอร์ทั่วประเทศ สมาชิกสะดวกที่ไหนสามารถอบรมได้ที่นั่น ราคา 1605 บาท รวม VAT อันนี้คือราคาในปี 2564 แต่ถ้าไม่สะดวกอบรมกับศรีกรุงโบรคเกอร์ ก็ยังสามารถลงอบรมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เปิดบริการได้ด้วย ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ราคาก็ประมาณ 1605 บาท ถึง 2000 กว่าบาท แต่ปัจจุบันมีการระบาดของโควิด ก็จะปรับเป็นการอบรมออนไลน์แทนครับ
ค่าอบรมต่ออายุใบอนุญาต หลังจากที่เราได้รับใบอนุญาต หรือเรียกว่าออกบัตรที่ คปภ แล้วใบอนุญาตของเราจะไม่ได้ใช้ได้ตลอดชีพนะครับ แต่จะมีอายุ 1 ปี ซึ่งเราก็จะมีหน้าที่ไปอบรมต่ออายุใบอนุญาตภายในระยะเวลา 1 ปีนี้ให้เรียบร้อย เราจะต้องอบรมและต่ออายุแบบนี้ปีละครั้งจำนวน 3 ปี เรียกว่าอบรมต่อ 1 อบรมต่อ 2 และอบรมต่อ 3 จากนั้นเราจึงจะได้ใบอนุญาตที่มีอายุ 5 ปี และภายใน 5 ปีนี้เราจะต้องอบรมต่อ 4 ให้ครบจำนวน 50 ชั่วโมงตามที่ คปภ เค้ากำหนด คราวนี้ค่าใช้จ่ายในการอบรมที่ว่านี่คือเท่าไหร่ สำหรับศรีกรุงโบรคเกอร์ก็มีการจัดอบรมให้กับสมาชิกของศรีกรุงโบรคเกอร์ในจังหวัดที่มีสาขาของศรีกรุงโบรคเกอร์ทั่วประเทศ ปี 64 มี 44 จังหวัดแล้วและจะขยายทุกปีจนครบทุกจังหวัดครับ ค่าอบรมกับศรีกรุงโบรคเกอร์ในปี 64 สำหรับ ต่อ 1 ต่อ 2 ต่อ 3 อยู่ที่ 1200 บาท ส่วนต่อ 4 มีค่าอบรมอยู่ที่ 1500 บาท แต่ถ้าหากไม่สะดวกจะอบรมกับศรีกรุงโบรคเกอร์ ก็ยังมีการอบรมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เค้าจัดทั้งแบบออฟไลน์และแบบออนไลน์ มีค่าใช้จ่ายประมาณ 1500-2500 บาท ครับ
ค่าออกใบอนุญาติ ที่ คปภ ถ้าเป็นบัตรที่อายุ 1 ปี มีค่าธรรมเนียม 200 บาท ถ้าเป็นบัตรที่มีอายุ 5 ปี มีค่าธรรมเนียม 800 บาท ทั้งค่าสอบและค่าอบรมขอรับใบอนุญาต เราจ่ายเพียงครั้งเดียว ตราบใดที่เรายังรักษาใบอนุญาตไว้ได้อยู่ แต่ถ้าหากเราปล่อยให้ใบอนุญาตเราขาดอายุ ก็จะต้องไปเริ่มต้นใหม่ที่จุดแรกอีกครั้ง ก็คือการสอบใหม่ครับ ค่าใช้จ่ายของใบอนุญาตที่ว่านี้ เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับใบอนุญาตใบเดียวเท่านั้น ถ้าหากเรามี 2 ใบก็คูนสองไปครับ สรุปว่าใน 1 ปีเราจะมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับใบอนุญาตประมาณ 1,400 - 2,700 บาท อันนี้ยังไม่รวมกับค่าเดินทางและค่าที่พัก กรณีที่เราไม่ได้อบรมในพื้นที่อาศัยของเรานะครับ

ซึ่งข่าวสารการเปิดคอร์สและการจองอบรมต่าง ๆ ทุกคนสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของ
ศรีกรุงโบรคเกอร์
https://www.srikrungbroker.co.th/
สกิลเลนซีพีดี
สมาคมประกันชีวิตไทย
สถาบันประกันภัยไทย
ส่วนที่ 2 เรามาพูดถึงต้นทุนในการบริหารจัดการธุรกิจของเรา
พี่เม่นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนย่อยได้แก่
/ Fixed Cost ที่ยังไงก็ต้องจ่ายแน่ ๆ
/ ค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่ทำงาน Offline
/ และค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่ทำงาน Online หรือบางคนอาจจะมีวิธีการทำงานผสมผสานกันทั้ง 2 อย่างก็ได้
2.1 Fixed Cost ที่ยังไงก็ต้องจ่ายแน่ ๆ ไม่ว่าเราจะทำงานแบบ Offline หรือแบบ Online อาจจะเป็นต้นทุนที่ทุกคนต้องจ่ายอยู่แล้วในกิจกรรมอื่น ๆ หรือ บางคนอาจจะไม่มีต้นทุนในส่วนนี้มาก่อน
ค่าโทรศัพท์ (โทร / อินเตอร์เน็ต) ถึงแม้ว่าในวันนี้เราจะใช้การโทรผ่านอินเตอร์เน็ตกันเยอะ แต่พี่เม่นก็เผื่อต้นทุนค่าโทรศัพท์เอาไว้ด้วยครับ เพราะว่าในกรณีที่เราต้องติดต่อประสานงานกับคนที่เราไม่เคยรู้จักกันมาก่อน การใช้เบอร์โทรศัพท์เป็นช่องทางพื้นฐานที่เราจำเป็นต้องใช้ครับ ซึ่งในส่วนนี้พี่เม่นใช้ระบบเติมเงินและมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณเดือนละ 100 บาทเท่านั้นเอง แต่พี่เม่นจะใช้แพคเกจอินเตอร์เน็ตในมือถือแบบ Unlimit ค่าใช้จ่ายตกประมาณเดือนละ 200 บาท ไม่ได้ใช้สปีดที่เร็วมากนักเพราะว่าเอาไว้แค่การโทรผ่านอินเตอร์เน็ตและการแชทข้อความในเวลาที่พี่เม่นออกไปนอกบ้านเท่านั้นเอง
ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ (อินเตอร์เน็ต / ค่าน้ำ / ค่าไฟ) อันนี้พี่เม่นก็ติด WiFi ที่บ้านนะครับ เราทำงานที่บ้านและใช้อินเตอร์เน็ตจาก WiFi เป็นหลัก แพคเกจก็ใช้แบบธรรมดาที่สุด ดูหนังฟังเพลงและทำงานผ่านอินเตอร์เน็ตเท่านั้นเอง ค่าใช้จ่ายก็ตามแต่ละบ้านนะครับ นอกจากนั้นก็คือค่าน้ำค่าไฟที่เราใช้ตามปกติ
ค่าอุปกรณ์ในการทำงาน เราใช้อะไรบ้าง หลัก ๆ ที่พี่เม่นใช้ / มือถือรุ่นธรรมดาค่อนข้างดีก็ได้ ไม่ต้องถึงกับใช้รุ่นเรือธง / คอมพิวเตอร์ ถ้าใช้ก็ใช้รุ่นที่ทำงานสำนักงานธรรมดาได้ก็พอครับ / แทปเล็ต อันนี้พี่เม่นไม่ได้ใช้ แต่ถ้าใครจะใช้ก็รวมเป็นต้นทุนไปด้วย / ปริ้นเตอร์ จำเป็นมากหรือไม่ขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำงานของแต่ละคนครับ แต่พี่เม่นนาน ๆ จะใช้สักครั้ง แนะนำว่าซื้อเครื่องแบบเลเซอร์ขาวดำ ราคาไม่กี่พันบาทก็พอ หรือถ้ายังไม่มีก็ไม่ต้องซื้อเพราะเราไม่ได้ปริ้นกันบ่อยขนาดนั้น
2.2 ค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่ทำงานแบบ Offline
ค่าเดินทาง อันนี้เลี่ยงไม่ได้เลยเพระว่าเราจะต้องพบปะลูกค้านะครับ
ค่าเช่าสำนักงาน ขึ้นอยู่กับว่าเราเปิดร้านหรือไม่ หรือพื้นที่นั้นเป็นของเราเองหรือไม่
ค่ามัดจำกระดาษ พรบ และประเภท ในกรณีที่เราออกเอกสารเองที่ร้าน
ค่าวัสดุอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่าง ๆ ในสำนักงาน
แต่โดยส่วนตัวพี่เม่นทำงานออนไลน์อย่างเดียว 100% ก็จะไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ครับ
2.3 ค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่ทำงานแบบ Online แบบที่พี่เม่นทำอยู่
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเว็บไซต์ อันนี้ไม่ได้เป็นข้อบังคับว่าทุกคนที่ทำงานออนไลน์จะต้องมี บางคนอาจจะไม่มีเลย บางคนอาจจะใช้เว็บไซต์ขยายงานที่ทางสายงานมีให้ใช้ฟรีอยู่แล้วก็ได้ครับ แต่ถ้าใครไม่อยากใช้ของที่มีอยู่แล้วอยากสร้างเว็บเป็นของตันเอง ก็จะต้องมีค่าใช้จ่ายใน 2 ส่วนนี้ครับ / Domain หรือเทียบง่าย ๆ คือ บ้านเลขที่ เพื่อจะบอกว่าเว็บไซต์เราอยู่ตรงไหน อันนี้มีค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 300-600 บาท / Web Hosting หรือเทียบง่าย ๆ คือ พื้นที่ตั้งของบ้านเราครับ มีทั้งแบบฟรีให้ใช้ ไปจนถึงมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 2,000 - 6,000 บาท ซึ่งมีฟังค์ชั่นที่แตกต่างกันออกไปตามความต้องการของแต่ละคนครับ / แต่แนะนำว่า สำหรับมือใหม่เลยใช้ของเว็บไซต์ขยายงานฟรีของสายงานไปก่อนก็ได้ครับ
ค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาผ่าน Social Media พี่เม่นจะบอกว่า Social Media ทุกตัวที่ใช้ในงาน เราใช้ได้ฟรี ๆ ทั้งในส่วนของ Facebook, Line, YouTube หรืออื่น ๆ ก็ตาม พี่เม่นแนะนำว่าอย่าเพิ่งใจร้อนรีบไปทำโฆษณา ให้เราใช้ของฟรีเหล่านี้ให้เราเข้าใจในธุรกิจอย่างถ่องแท้ก่อน จากนั้นถ้าอยากทำโฆษณา ก็แล้วแต่ต้นทุนที่แต่ละคนมีครับ มีคนที่ลงทุนทั้งหลัก 10 ถึงหลัก 1,000 ต่อวัน สาเหตุที่บอกว่าอย่าเพิ่งไปลงทุนทำโฆษณาก่อน เพราะถ้าเรายังไม่เข้าใจธุรกิจอย่างถ่องแท้แล้วไปทำโฆษณา คนสนใจเข้ามาหาเราก็จริงแต่เราจะปิดการขายได้ยากครับ และจะสูญเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ สู้ให้เราทำความเข้าใจธุรกิจของเราให้ดีก่อนที่จะใช้เม็ดเงินในการโฆษณาทุกอย่างให้คุ้มค่าที่สุดครับ
ค่าใช้จ่ายในการอบรมหรือสอนทีมงาน สำหรับคนที่เข้ามาใหม่ ๆ จะยังไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ แต่คนที่ต้องการก้าวหน้าในสายอาชีพจะต้องสร้างและสอนทีมงานให้ทำงานเป็นเหมือนเรา ก็จะต้องใช้เครื่องมือในการสอนทีมงาน เช่นซอฟต์แวร์หรือแอพพิลเคชั่นในการประชุม ไลฟ์ หรือผลิตคอนเทนต์ครับ มีทั้งแบบฟรีและแบบเสียเงินให้เลือกใช้เยอะแยะเลย เหมือนเดิมผู้เริ่มต้นแนะนำให้ใช้ของฟรีก่อน แต่ก็อาจจะมีข้อจำกัดที่เราไม่สะดวกบ้าง เช่น ระยะเวลาในการใช้จำกัด หรือเครื่องมือที่ใช้ได้จำกัด แต่ถ้าเราทำบ่อยและชำนาญจนคุ้มค่าที่จะเสียเงินแล้ว ค่อยจ่ายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานครับ
ส่วนตัวพี่เม่นเองที่ทำงานออนไลน์ 100% พี่เม่นเน้นการทำ Content ครับก็จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนของเว็บไซต์ ส่วน Social Media ต่าง ๆ พี่เม่นใช้ของฟรีหมดเลย
ส่วนที่ 3 ต้นทุนในส่วนเสริมทักษะ ความรู้ความสามารถของเราเอง
ในจรรยาบรรณนายหน้าประกันชีวิตข้อ 9 และจรรยาบรรณนายหน้าประกันวินาศภัยข้อ 3 พูดถึงวิชาชีพนี้ว่าเราควรจะเสริมทักษะความรู้ความสามารถให้ทันกับยุคสมัยอยู่เสมอ ซึ่งการเสริมทักษะความรู้นี้พูดรวมถึงทั้งทักษะที่เกี่ยวของโดยตรงกับอาชีพ และที่นอกเหนือจากอาชีพของเราครับ
ในส่วนของทักษะอาชีพ ทางศรีกรุงและสายงานมีการอบรมให้เราแบบฟรี ๆ อยู่แล้วครับ ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แค่ลงแรงและสละเวลาเข้าไปเรียนรู้เท่านั้นเอง แต่อาจจะมีทักษะในด้านอื่น ๆ ที่เราจะเอามาเสริมในอาชีพของเราได้ ซึ่งความรู้พื้นฐานเกือบทุกอย่างสามารถหาได้ฟรีใน Google และ YouTube
แต่สำหรับคนที่ต้องการศึกษาสิ่งที่แอดวานซ์ไปกว่านั้น สามารถเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นโดยตรง ซึ่งก็ถือเป็นต้นทุนในอีกรูปแบบครับ เช่น เทคนิคการเขียน Content ใน Social Media / เทคนิคการสร้างภาพโฆษณา / เทคนิคการตัดต่อวีดีโอ
สรุปต้นทุนในการประกอบอาชีพของพี่เม่น ที่ส่งงานกับศรีกรุงโบรคเกอร์ และทำงานออนไลน์อยู่ที่บ้าน 100% นะครับ ซึ่งอาจจะไม่เท่ากับการทำงานของคนอื่นที่มีวิธีการทำงานแตกต่างไปพี่เม่นคิดให้ดู 2 แบบครับ คือ แบบเฉพาะต้นทุนที่จับต้องได้และใช้กับการทำงานนี้จริง ๆ กับแบบที่คิดต้นทุนแฝงอื่น ๆ รวมมาทั้งหมด
แบบแรกเลย พี่เม่นคิดแบบทำเป็นอาชีพเสริม คิดเฉพาะต้นทุนที่จับต้องได้และใช้กับเฉพาะอาชีพนี้เท่านั้น ส่วนค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเสื่อมอุปกรณ์ และอื่น ๆ ที่ยังไงก็ต้องใช้แม้จะไม่ได้ทำงานนี้ยกออกไปหมดเลย
ต้นทุนค่าใบอนุญาตนายหน้า 2 ใบ ปีละประมาณ 2,800 บาท อบรมในจังหวัด
ต้นทุนค่าบริหารจัดการธุรกิจส่วนตัว
ค่าใช้จ่ายของเว็บไซต์ ปีละ 6,000 บาท
ต้นทุนในส่วนเสริมทักษะความรู้ ฟรี เพราะหาใน Google ทั้งหมด
สรุปค่าใช้จ่ายเฉลี่ยทั้งหมดปีละ 8,800 หรือเดือนละ 733 บาท แต่ถ้าใครใช้ของฟรีทั้งหมดและอบรมในจังหวัดของตัวเอง ก็มีแค่ต้นทุนค่าใบอนุญาต 2 ใบไม่เกินปีละ 3,000 บาทครับ
แบบที่ 2 อันนี้พี่เม่นคิดต้นทุนแบบการทำธุรกิจจริงจังเป็นอาชีพหลักเลย ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต คิดแบบเฉลี่ยออกมา เพราะบางส่วนก็ใช้กับเรื่องส่วนตัว
ต้นทุนค่าใบอนุญาตนายหน้า 2 ใบ ปีละประมาณ 2,800 บาท
ต้นทุนค่าบริหารจัดการธุรกิจส่วนตัว
ค่าโทรศัพท์ + อินเตอร์เน็ตมือถือ เดือนละ 150 บาท ปีละ 1,800 บาท
ค่าอินเตอร์เน็ตบ้าน เดือนละ 300 บาท ปีละ 3,600 บาท
ค่าน้ำ ค่าไฟ เดือนละ 1000 บาท ปีละ 12,000 บาท
ค่าใช้จ่ายของเว็บไซต์ ปีละ 6,000 บาท
ค่าเสื่อมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน ปีละ 10,000 บาท
ค่าเดินทางในการอบรม เพราะไม่ชอบอบรมแถวบ้าน ถือว่าได้ไปเที่ยวด้วย ปีละ 5,000 บาท
ต้นทุนในส่วนเสริมทักษะความรู้ ฟรี เพราะหาใน Google ทั้งหมด
สรุปค่าใช้จ่ายเฉลี่ยทั้งหมดปีละ 35,200 หรือเดือนละ 2,933 บาท อันนี้พี่เม่นทำงานออนไลน์ที่บ้านก็เลยมีค่าใช้จ่ายเท่านี้ แต่ถ้าใครเช่าหน้าร้านหรืออื่น ๆ ก็บวกเพิ่มเอานะครับ
ถ้าเราไม่ได้เป็นสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์และส่งงานกับโบรคเกอร์อื่น ๆ ต้นทุนในการทำงานก็ใกล้เคียงกันครับ แต่อาจจะมีต้นทุนค่าอบรมที่สูงขึ้นนิดหน่อย เพราะสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์จะได้สิทธิ์อบรมในราคาที่ต่ำกว่า
แต่อีกรูปแบบนึงถ้าหากเราเลือกเป็นนายหน้าบุคคลธรรมดาส่งงานตรงกับบริษัทประกันภัย ก็จะมีต้นทุนอีกชนิดเพิ่มเข้ามานั่นก็คือ เงินค้ำประกัน ซึ่งแต่ละบริษัทจะใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกันไม่เหมือนกัน เช่น ค้ำประกันเป็นเงินสด เป็นบัญชีเงินฝาก เป็นทรัพย์สิน เป็นบุคคล อันนี้ก็ต้องศึกษารายละเอียดของแต่ละบริษัทอีกทีครับ
อ๊ะ เรารู้ต้นทุนที่เราต้องใช้กันคร่าว ๆ แล้วนะครับ เดี๋ยวคลิปต่อไปพี่เม่นจะมาบอกว่ารูปแบบธุรกิจของนายหน้าประกันเป็นแบบไหนบ้าง เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นครับ