top of page
  • รูปภาพนักเขียนP'MEN

เลือกประกันภัยรถยนต์แบบไหนดีให้เหมาะกับเรา

อัปเดตเมื่อ 2 ธ.ค. 2563

รถทุกคันที่สามารถใช้งานบนท้องถนนได้อย่างถูกกฏหมายต้องมีการเสียภาษีและทำประกันไว้ทุกคัน ประกันที่ต้องทำอย่างแน่นอนไม่สามารถปฏิเสธได้คือ ประกันภาคบับคับ หรือที่เราเรียกกันว่า พ.ร.บ.


เลือกประกันภัยรถยนต์ให้เหมาะกับเรา
เลือกประกันภัยรถยนต์ให้เหมาะกับเรา
"แต่ พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองเฉพาะชีวิต ร่างกาย และอนามัยเท่านั้น ไม่ได้คุ้มครองถึงความเสียหายของรถยนต์และทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งต้องยอมรับว่ามีราคาสูง"

หากเราประสบอุบัติเหตุจากรถโดยที่เราไม่เป็นผู้ผิดไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร หรือคนที่เดินผ่านมา ก็จะมี พ.ร.บ. และกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยช่วยบรรเทาทุกข์ให้ส่วนหนึ่ง แต่หากเราเป็นผู้ผิดก็จะต้องรับผิดชอบความสูญเสียของคู่กรณีทั้งทางชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งอาจจะเกินกำลังความสามารถของเราในขณะนั้นได้ เนื่องจากเป็นเหตุฉุกเฉินไม่สามารถเตรียมค่าใช้จ่ายได้ทัน จึงมีการประกันภาคสมัครใจขึ้นมาช่วยรองรับความเสี่ยงนี้ แต่จะเลือกซื้อประกันภัยภาคสมัครใจให้คุ้มครองมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความต้องการลดความเสี่ยงและลักษณะการขับขี่ของแต่ละบุคคล แต่ก่อนจะเลือกเราควรทำความเข้าใจก่อนว่า ทั้งการประกันภัยภาคบังคับ และการประกันภัยภาคสมัครใจให้ความคุ้มครองในส่วนไหนบ้าง


การประกันภัยภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

เป็นการประกันที่เน้นให้ความคุ้มครองต่อชีวิต ร่างกาย และอนามัยต่อผู้ประสบภัยจากรถ ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุโดยยานพาหนะ


หมายเหตุ สาระสำคัญอื่น ๆ หาอ่านเพิ่มเติมได้จากเว็บของ คปภ. ตามลิ้งค์นี้


การประกันภัยภาคสมัครใจ

การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย (บริษัทประกันภัย) โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความพึงพอใจของผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้อทำด้วยความสมัครใจ ไม่ได้ถูกบังคับโดยกฎหมาย


โดยแบ่งเป็น 5 ความคุ้มครอง ได้แก่


1) ความคุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก (Third Party Bodily Injury: TPBI)

2) ความคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก (Third Party Property Damage: TPPD)

3) ความคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายของตัวรถยนต์ (Own Damage: OD)

4) ความคุ้มครองความรับผิดต่อความสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์ (Fire and Theft: F&T)

5) ความคุ้มครองเพิ่มเติม

- การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident)

- การประกันภัยค่ารักษาพยาบาล (Medical Expense)

- การประกันตัวผู้ขับขี่ (Bail Bond)

หมายเหตุ ความคุ้มครองแต่ละอย่างมีรายละเอียดอะไรบ้างสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากเว็บของ คปภ. ตามลิ้งค์นี้


เวลาที่เราซื้อประกันภัยประเภทต่าง ๆ เช่น 1,2,3,4 และ 5(2+,3+) เค้าก็จัดความคุ้มครองมาใส่ไว้เป็นหมวดหมู่ เหมือนกันทุกบริษัท แต่ราคาเบี้ยประกันและความคุ้มครองอาจจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับบริษัทนั้น ๆ ลักษณะการประกันภัยแต่ละประเภท ดังนี้


กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 (Comprehensive)

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่นๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 4 ประเภท ดังนี้


1.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย

1.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

1.3 คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์

1.4 คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์


กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 (Third Party Liability, Fire and Theft)

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 2 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แตกต่างเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ โดยมีความคุ้มครองหลัก ดังนี้


2.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย

2.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

2.3 คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์


กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 (Third Party Liability)

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 และประเภท 2 โดยบริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเฉพาะความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ดังนี้


3.1 คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก รวมถึงผู้โดยสารในรถยนต์คันเอาประกันภัย

3.2 คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก


กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 (Third Party Property Damage Only)

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 4 ให้ความคุ้มครองต่อบุคคลภายนอกเท่านั้น โดยคุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก 100,000 บาทต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง


กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5

กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 เป็นแบบคุ้มครองภัยเฉพาะที่พัฒนาใช้งานขึ้นมาในภายหลัง แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้


แบบประกัน 2 พลัส (2+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 2 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้


- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

- คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก

- คุ้มครองการสูญหายและไฟไหม้ของตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย


แบบประกัน 3 พลัส (3+) ให้ความคุ้มครองรับผิดชอบต่อความเสียหายแบบประกันภัยชั้น 3 แต่เพิ่มความรับผิดต่อความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัยกรณีที่ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น และต้องมีคู่กรณี โดยให้ความคุ้มครอง ดังนี้


- คุ้มครองความรับผิดต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลภายนอก และผู้โดยสารในรถ

- คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

- คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย กรณีชนกับยานพาหนะทางบก


ข้อสำคัญของกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ทั้งประกัน 2 พลัส และประกัน 3 พลัส คือ

1. ชนกับยานพาหนะทางบกเท่านั้น

2. ต้องมีคู่กรณี ถ้าชนแล้วหนี หาพยานหลักฐานไม่ได้ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง



ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองประกันรถยนต์ประเภทต่าง ๆ
ตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองประกันรถยนต์ประเภทต่าง ๆ

*จะต้องชนกับยานพาหนะทางบก และต้องมีคู่กรณีเท่านั้น


ลำดับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน จะเรียกจาก พ.ร.บ. ก่อนเป็นอันดับแรก ทุกคนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิดสามารถเรียกค่าเสียหายเบื้องต้น (ข้อ 1.1, 1.2) ได้ไม่เกิน 30,000+35,000 = 65,000 บาท


จากนั้นหากพิสูจน์ได้ว่าตนเป็นฝ่ายถูกจะได้รับค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น (ข้อ 2.1, 2.2, 2.3, 2.4) ตามตารางด้านล่างนี้



ตารางความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
ตารางความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

การประกันภัยภาคบังคับด้านบนเป็นเพียงการคุ้มครองชีวิต ร่างกาย และอนามัยของผู้ประสบเหตุ คนส่วนใหญ่จึงซื้อความคุ้มครองภาคสมัครใจไว้เพิ่มเติมสำหรับกรณีที่ความคุ้มครองประกันภัยภาคบังคับไม่เพียงพอ โดยรับผิดชอบส่วนที่เกินวงเงินสูงสุดตามประกันภัยภาคบังคับ


** ตัวอย่างรายการความคุ้มครองประกันภาคสมัครใจ

ตัวอย่างรายการความคุ้มครองประกันภาคสมัครใจ
ตัวอย่างรายการความคุ้มครองประกันภาคสมัครใจ

การพิจารณาเลือกประกันรถยนต์ให้เหมาะสมกับเรา

พอเรามีข้อมูลเกี่ยวกับการประกันภาคบังคับและภาคสมัครใจแล้วเราก็มาพิจารณะเลือกว่าจะซื้อประกันอะไรบ้างให้เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด


1. ประกันภาคบังคับ ไม่ต้องเลือกเพราะยังไงก็ต้องซื้อราคาและความคุ้มครองเท่ากันทุกบริษัท ถ้าจะไม่ซื้อประกันภาคสมัครใจเราจะซื้อภาคบังคับกับบริษัทไหนก็ได้ แต่หากจะซื้อประกันภาคสมัครใจเพิ่มเติมด้วย การซื้อประกันภาคบังคับกับบริษัทเดียวกันจะให้ความสะดวกมากกว่าทั้งตอนซื้อและตอนเครมประกัน


2. ปัจจัยที่จะใช้เลือกซื้อประกันภาคสมัครใจ


2.1 ดูพฤติกรรมการขับขี่ของเราเอง จากตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองข้างบนจะเห็นว่าประกันทุกประเภทให้ความคุ้มครองคู่กรณีเป็นหลักอยู่แล้ว คราวนี้ก็ต้องพิจารณาว่าเราเองมีพฤติกรรมการขับขี่ระมัดระวังมากน้อยแค่ไหน หากยังไม่ชำนาญมีโอกาสจะชนคนอื่นและเป็นฝ่ายผิดควรซื้อประกันประเภท 1 ไว้ แต่หากชำนาญแล้วมั่นใจว่าแก้ไขทุกสถานการณ์ได้ไม่เป็นฝ่ายผิดแน่นอนอาจเลือกซื้อประกันประเภท 2 หรือประกันประเภท 3 จะประหยัดเงินได้อีก แต่ก็ต้องรับความเสี่ยงในกรณีเราเป็นฝ่ายผิดไว้เอง


2.2 ดูสถานที่จอดรถของเรามีความเสี่ยงในการสูญหายหรือไฟไหม้มากน้อยแค่ไหน หากบ้านเรามีรั้วรอบขอบชิด ไม่ไปในสถานที่เปลี่ยว และไม่เคยทิ้งรถไว้ในบ้านหลายวัน ประกันประเภท 3 ก็น่าสนใจสามารถประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากอยู่


2.3 ดูในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล สำหรับคนทีมีสวัสดิการเรื่องการรักษาพบาบาลและคุ้มครองอุบัติเหตุอยู่แล้วก็อาจจะเลือกความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้ายน้อยลงก็ได้ ซึ่งต้องดูในกรมธรรม์ที่เรามีอยู่แต่ละบุคคลไป แต่หากเราไม่มีความคุ้มครองใด ๆ อยู่เลย การเลือกความคุ้มครองในส่วนนี้ให้มากหน่อยก็เป็นสิ่งที่ดี


2.4 จำนวนเงินเอาประกันภัยที่เหมาะสม ประมาณ 80-90 % ของราคารถในเวลานั้น หากจำนวนเงินเอาประกันภัยน้อยไปเมื่อเราเกิดเหตุจะได้ค่าชดเชยเพียงไม่เกินเงินเอาประกันภัยที่ทำไว้ แต่หากเงินเอาประกันภัยมากเกินไปก็เป็นการซื้อประกันภัยแพงโดยเปล่าประโยชน์ เพราะการจ่ายค่าชดเชยจะจ่ายตามความเสียหายจริงที่ไม่เกินเงินเอาประกันภัยเท่านั้น


2.5 การเลือกบริษัทประกันภัยรถยนต์ ลองสืบค้นความน่าเชื่อถือของบริษัทประกันภัยในด้านต่าง ๆ ว่ามีความน่าไว้วางใจมากน้อยแค่ไหน เช่น


– ความมั่นคงทางการเงินของบริษัทประกันภัยรถยนต์

– ชื่อเสียงของบริษัทประกันว่ามีชื่อเสียงในทางที่ดีหรือไม่

– การให้บริการของพนักงานบริษัทประกัน

– ความยากง่ายในการร้องเรียนเรื่องราวต่างๆ

– เครือข่ายของอู่ซ่อมรถที่จัดไว้บริการหากเกิดอุบัติเหตุ

– มีตัวแทน หรือนายหน้าที่น่าเชื่อถือ ไว้วางใจได้

– ตัวแทน หรือนายหน้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวประกันภัยรถยนต์เป็นอย่างดี


การเลือกประเภทและบริษัทประกันภัยไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องทำความเข้าใจกับรายละเอียดต่าง ๆ และเลือกให้สัมพันธ์กับพฤติกรรมการขับขี่รวมถึงกำลังในการชำระเบี้ยประกันภัยของเราเองเท่านั้น

สนใจสมัครร่วมทีมงานเดียวกับพี่เม่น

ติดต่อได้ที่ Line ID : srikrung168 Line : http://line.me/ti/p/~srikrung168

หรือโทร 0-654-088-088


ใบสมัครออนไลน์ สมัครเป็นทีมงานติดตัวพี่เม่น https://www.srikrungexpo.com/k25655



ดู 15 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Yorumlar


bottom of page