สวัสดีครับ พี่เม่นจาก srikrung168.com นะครับ คลิปที่แล้วพี่เม่นบอกถ้าเราอยากจะขายประกันเป็นอาชีพเสริม เรามีสินค้าให้เลือกขาย 2 ฝั่งนั่นก็คือ ประกันชีวิต และประกันวินาศภัยครับ
แต่อยู่ ๆ เราจะไปขายประกันเลยทันทีได้มั้ย คำตอบคือไม่ได้นะครับ เพราะว่ากฎหมายระบุว่าเราจะต้องมีใบอนุญาตเสียก่อน ซึ่งคนที่ยังไม่มีใบอนุญาตสามารถสมัครเข้าไปในองค์กรที่ทำธุรกิจนี้ เพื่อเรียนรู้และสอบใบอนุญาตก่อนได้ครับ คราวนี้เราจะเลือกอย่างไรว่าเราจะสมัครเข้าไปในองค์กรธุรกิจไหน เพื่อสอบใบอนุญาตอะไร
เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น พี่เม่นขอแบ่งหน่วยของธุรกิจออกเป็น หน่วยงานเจ้าของผลิตภัณฑ์ และหน่วยงานตัวแทนจำหน่าย ก่อนนะครับ
หน่วยงานเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็คือ บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย ซึ่งเป็นผู้ที่ออกผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต หรือ ผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยมาจำหน่ายให้กับลูกค้าซื่งก็คือผู้เอาประกันภัย
คนที่มาช่วยขายให้กับเจ้าของผลิตภัณฑ์ เรียกว่า ตัวแทน ครับ นั่นก็คือ ตัวแทนประกันชีวิต หรือตัวแทนประกันวินาศภัย
บุคคลเหล่านี้จะสังกัดบริษัทของตนเพียงบริษัทเดียว นำเสนอผลิตภัณฑ์ได้เพียงบริษัทที่ตนสังกัดเท่านั้น ไม่สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ของบริษัทอื่น ๆ ได้ หน้าที่ของตัวแทนคือ ชักชวน ให้ผู้เอาประกันมาทำประกันกับบริษัทของตน
การที่จะได้ใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต หรือตัวแทนประกันวินาศภัย บริษัทที่ตนสังกัดอยู่ก็จะดูแลบุคคลากรของตนในเรื่องการจัดสอบขอรับใบอนุญาต การอบรมต่ออายุใบอนุญาตต่าง ๆ ครับ ก็เรียกว่าเข้าหน่วยงานไปก่อนแล้วค่อยไปสอบกับเค้า
ในด้านของหน่วยงานอีกด้านก็คือ ตัวแทนจำหน่าย ก็คือคนที่ไม่ได้สังกัดอยู่ในหน่วยงานของเจ้าของผลิตภัณฑ์ แต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของผลิตภัณฑ์ให้สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตนได้ ซึ่งในธุรกิจประกันเราจะเรียกกันว่า นายหน้า มีทั้งนายหน้าบุคคลธรรมดา หรือนายหน้านิติบุคคลที่ทุกคนรู้จักกันในชื่อว่า โบรคเกอร์
หน้าที่ของนายหน้าคล้ายกับของตัวแทนครับ คือ พบปะลูกค้าและนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและผลิตภัณฑ์ประกันวินาศภัยให้เกิดการซื้อขายกัน แต่สิ่งที่แตกต่างคือในเมื่อนายหน้าไม่ได้สังกัดบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ นายหน้าจึงสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายบริษัท
สำหรับคนที่ไม่เคยมีประสบการณ์อะไรมาก่อนเลย ยังไม่มีใบอนุญาต และสนใจที่จะเป็นนายหน้าประกันชีวิต หรือนายหน้าประกันวินาศภัย พี่เม่นแนะนำให้สมัครสมาชิกกับนายหน้านิติบุคคลครับ ซึ่งไม่ต้องมีเงินค้ำประกันใด ๆ และมีนายหน้านิติบุคคบางแห่งอย่างศรีกรุงโบรคเกอร์ที่พี่เม่นส่งงานอยู่ เค้ารับคนที่ยังไม่มีความรู้อะไรเลยเข้ามาสร้างอาชีพ มีอบรมความรู้ให้ มีการจัดสอบใบอนุญาตให้ มีการอบรมต่ออายุใบอนุญาตให้
ซึ่งที่นี่มีผลิตภัณฑ์ทั้งในส่วนประกันวินาศภัยและประกันชีวิตให้กับลูกค้า เราสามารถส่งงานบริษัทประกันวินาศภัยได้เกือบ 40 บริษัท และบริษัทประกันชีวิตอีก 10 บริษัท
ถ้าเราอยากเป็นนายหน้าบุคคลธรรมดา ไม่ส่งงานผ่านโบรคเกอร์ทำได้หรือไม่ คำตอบคือทำได้ครับ แต่เราก็จะมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในการวางทรัพย์สินหรือเงินค้ำประกันกับบริษัทประกัน แต่ถ้าเราส่งงานกับโบรคเกอร์เราจะไม่มีต้นทุนส่วนนี้ เพราะโบรคเกอร์ได้นำทรัพย์สินของโบรคเกอร์วางค้ำประกันกับบริษัทประกันเรียบร้อยแล้วครับ
จากที่พี่เม่นอธิบายมา แสดงว่าในวงการประกันมีใบอนุญาตอยู่ทั้งหมด 4 ใบ ได้แก่ ตัวแทนประกันชีวิต ตัวแทนประกันวินาศภัย นายหน้าประกันชีวิต และนายหน้าประกันวินาศภัย ซึ่งเราสามารถเลือกถือใบอนุญาตได้ฝั่งละ 1 ใบ ระหว่างตัวแทนหรือนายหน้า จะเป็นทั้งตัวแทนและนายหน้าในฝั่งเดียวกันไม่ได้
ในฝั่งประกันชีวิตให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง ตัวแทนประกันชีวิต หรือ นายหน้าประกันชีวิต
และในฝั่งประกันวินาศภัย เลือกได้อีกอย่างหนึ่งระหว่าง ตัวแทนประกันวินาศภัย หรือนายหน้าประกันวินาศภัย
เช่น ถ้าเราเป็นตัวแทนประกันชีวิตของบริษัทหนึ่งอยู่แล้ว แต่ลูกค้าไม่ได้มีสิ่งที่ต้องดูแลแค่ชีวิต ยังมีทรัพย์สินอื่น ๆ อีกที่ต้องดูแลในส่วนวินาศภัยอีก เราก็สามารถเปิดช่องทางการขายผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมให้ครบวงจรได้ โดยการสมัครเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยกับศรีกรุงโบรคเกอร์ ซึ่งขายประกันวินาศภัยได้อีกเกือบ 40 บริษัท
แต่ถ้าเป็นตัวแทนประกันชีวิตอยู่แล้ว ไม่อยากส่งงานกับโบรคเกอร์ และอยากเป็นตัวแทนในฝั่งวินาศภัยด้วย ก็ไม่ได้เสียหาย เพียงแค่สมัครไปกับบริษัทประกันโดยตรงเท่านั้นเอง
หรืออย่างพี่เม่นเอง ส่งงานกับศรีกรุงโบรคเกอร์ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ให้เลือกจำหน่ายหลากหลายมากทั้งฝั่งประกันวินาศภัย และฝั่งประกันชีวิต พี่เม่นจึงเลือกถือใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย และใบอนุญาตนายหน้าประกันชีวิต ทำให้สามารถขายผลิตภัณฑ์ประกันได้หลากหลายมากขึ้นทั้ง 2 ฝั่ง ครับ
ในตอนต้นพี่เม่นบอกว่า เป็นตัวแทนต้องติดสังกัด ส่งงานได้แค่บริษัทเดียว แล้วเป็นนายหน้ามีการติดสังกัดมั้ย พี่เม่นจะมาอธิบายในคลิปถัดไปครับ