สิ่งเล็ก ๆ ที่ว่านั้นก็คือไม่ซื้อ พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันภัยรถยนต์ ให้เป็นบริษัทเดียวกัน มีความคุ้มครองเริ่มต้นและสิ้นสุดพร้อมกัน เหมือนกับตอนที่เราออกรถป้ายแดงจากศูนย์ฺ
สิ่งที่ผู้ใช้ประกันภัยจำนวนหนึ่งไม่ทราบคือ
1 พ.ร.บ. รถยนต์ ไม่ได้มีไว้แค่เพียงการต่อภาษี
บางคนอาจจะเข้าใจว่า ก็ซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์เอาไว้เพื่อใช้ต่อภาษีเท่านั้นเอง ไม่เห็นจะมีความสำคัญอะไรเลย แต่จริง ๆ แล้วเงื่อนไขที่เอาไว้ใช้สำหรับต่อภาษีรถยนต์เป็นเพียงเหตุผลรองครับ เหตุผลหลักก็คือทางกรมการขนส่งเค้ามีนโยบายให้รถทุกคันต้องมีประกันภัยสำหรับคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งอยู่ในรูปแบบ พ.ร.บ. หรือประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับครับ และ พ.ร.บ. รถยนต์ก็มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจะเป็นคนในรถเรา คนในรถคู่กรณี หรือแม้แต่คนนอกรถที่สัญจรผ่านไปมา สังเกตุมั้ยครับว่า พ.ร.บ. รถยนต์จะให้ความคุ้มครองเฉพาะคนเท่านั้น ไม่ได้มีความคุ้มครองทรัพย์สินใด ๆ ด้วย
ตัวอย่าง ความคุ้มครองที่แสดงอยู่ใน พ.ร.บ. รถยนต์
2 เราสามารถปรับจำนวนวันความคุ้มครองของ พ.ร.บ. ได้
บางคนอาจจะเคยเผลอทำให้ พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์มีวันคุ้มครองไม่ตรงกัน แต่เราสามารถซื้อ พ.ร.บ. ตามจำนวนวันที่เราต้องการได้ เพื่อปรับให้ระยะเวลากรมคุ้มครองของ พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์เริ่มตันและสิ้นสุดพร้อมกัน
3 ซื้อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าได้
เราสามารถชื้อ พ.ร.บ. ล่วงหน้าได้ 90 วัน และต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้ 90 วันเช่นกัน เราจึงสามารถวางแผนการต่อประกันภัยรถยนต์ พ.ร.บ. รถยนต์ และภาษีรถยนต์ให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกันได้
4 ประกันภัยรถยนต์ จะจ่ายค่าชดเชยหลังจากที่ใช้ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. รถยนต์เรียบร้อยแล้ว
อันนั้นจะพูดถึงในส่วน ความรับผิดต่อความเสียหายชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ของบุคคลภายนอก สังเกตุมั้ยมีคำว่า "เฉพาะส่วนเกินวงเงินสูงสุดตาม พ.ร.บ." แปลว่าต้องมีการชดเชยให้กับคู่กรณีตามวงเงินสูงสุดของ พ.ร.บ. เท่าที่เค้าควรจะได้รับก่อน
ถ้าเรามี พ.ร.บ. ก็ใช้ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน
ถ้าเราไม่มี พ.ร.บ. เราก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนั้นเอง ถ้าเป็นเรื่องของการบาดเจ็บและมีค่ารักษาพบาบาล คือ 80,000 บาทต่อคน แต่ถ้ามีการเสียชีวิตคือ 500,000 บาทต่อคน
แนะนำให้ทุกคนต่อประกันภัยรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นบริษัทเดียวกัน เริ่มความคุ้มครอง และสิ้นสุดความคุ้มครองพร้อมกันเสมอ วิธีนี้จะช่วยป้องกันการลืมต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ได้
ทำไมจึงแนะนำให้ต่อ พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์เป็นบริษัทเดียวกัน และเริ่ม-สิ้นสุด ความคุ้มครองพร้อมกันเสมอ
จะมีสักกี่คนที่แยกแยะได้ ว่าเกิดอุบัติเหตุแล้วต้องเรียกประกันภัยของ พ.ร.บ. หรือประกันรถยนต์
ถ้าหากเราซื้อ พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์ต่างบริษัทกัน ในการเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งเราก็จะต้องมาประเมินสถานการณ์ทุกครั้งว่าเราจะต้องเรียกบริษัทประกันไหนดี
ถ้ามีคนบาดเจ็บ ทรัพย์สินไม่เสียหาย ต้องเรียกประกันภัยของบริษัทที่เราซื้อ พ.ร.บ. รถยนต์
ถ้าทรัพย์สินเสียหาย คนไม่บาดเจ็บ ต้องเรียกประกันภัยของบริษัทที่เราซื้อ ประกันภัยรถยนต์
ถ้ามีคนบาดเจ็บ และทรัพย์สินเสียหาย ต้องเรียกบริษัทประกันภัยของทั้ง พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์
คำถามคือ เราจะต้องมาตั้งสติและแยกแยะเหตุการณ์ทุกครั้งเลยรึเปล่า
เรียกผิดบริษัท เสียอารมณ์ เสียเวลา
ถ้าเราเรียกประกันภัยมาผิดบริษัท อยู่นอกเหนือความคุ้มครองของเค้า เค้าก็จะยังไม่คุ้มครอง คนที่ไม่เข้าใจความคุ้มครองของประกันภัยก็จะหัวเสียทำไมไม่รับผิดชอบ เสียเวลาของทุกฝ่าย ใช้ทั้ง พ.ร.บ. และประกันภัยเป็นบริษัทเดียวกันเลย เรียกแค่บริษัทเดียวสะดวกที่สุด ไม่ต้องจำเยอะ
ไม่ต้องเสียดายส่วนต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ
สำหรับสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์ทุกคน มีสิทธิ์ซื้อประกันภัยทุกชนิดในราคาสมาชิก พ.ร.บ. ก็เป็นประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ สมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์มีสิทธิ์ได้รับส่วนลดเช่นเดียวกัน แต่ส่วนลดของแต่ละบริษัทไม่เท่ากัน มากบ้าง น้อยบ้าง บางคนจึงเลือกซื้อ พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์เป็นคนละบริษัทเพื่อความประหยัด แต่ พ.ร.บ. รถยนต์ ราคาเต็มเพียงแค่ 645.21 บาท ส่วนลดที่ต่างกันของแต่ละบริษัทก็ไม่ได้มากพอที่จะคุ้มกับความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ความยุ่งยาก หากซื้อ พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์ต่างบริษัทกัน
1 เมื่อเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งจะต้องประเมินว่าจะเรียกบริษัทไหนดีระหว่า พ.ร.บ. หรือประกันภัยรถยนต์
2 เรียกมาผิดบริษัท ต้องเสียเวลาเรียกใหม่ ทำให้การประสานงานทุกอย่างช้าไปอีก
3 ถ้ามีผู้บาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหาย ต้องประสานงานเคลม 2 บริษัทยุ่งยากเพิ่มขึ้นอีก
4 ต้องรอให้บริษัทของ พ.ร.บ. ชดเชยความคุ้มครองให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยใช้ความคุ้มครองของบริษัที่ซื้อประกันภัยรถยนต์ ยุ่งยากและล่าช้าไปอีก
5 ปัญหาเหล่านี้จะจบง่ายขึ้นมาก เพียงแค่ใช้ พ.ร.บ. และประกันภัยรถยนต์เป็นบริษัทเดียวกัน
ป้องกันการลืมต่อ พ.ร.บ.
บางคนอาจจะคิดว่าเดี๋ยวค่อยต่อก่อนจ่ายภาษี อันนี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เราลืมต่อประกันภัยได้ เราอาจจะไม่ลืมต่อ พ.ร.บ. ก่อนชำระภาษี แต่อาจจะต่อ พ.ร.บ. ที่ความคุ้มครองไม่ต่อเนื่อง เกิดเป็นช่วงสูญญากาศในช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่มีความคุ้มครองของ พ.ร.บ. อยู่ แล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุมีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตในช่วงนั้นพอดีเราจะต้องสูญเสียเงินไปเท่าไหร่?
ถ้าเกิดอุบัติเหตุ ในขณะที่ไม่มีความคุ้มครองของ พ.ร.บ. จะมีค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน
ถ้าเราเป็นฝ่ายผิดและต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก จะต้องรับผิดชอบความเสียหายเองให้เต็มความคุ้มครองของ พ,ร.บ. ก่อน ส่วนเกินจากนั้นบริษัทประกันภัยรถยนต์จะดูแลต่อ
สำหรับผู้ได้รับบาดเจ็บ เราต้องชดเชยให้คู่กรณีด้วยตนเองก่อน มูลค่าตามความเสียหายที่แท้จริงไม่เกินคนละ 80,000 บาท ส่วนที่เกินจากนั้นประกันภ้ยรภยนต์จะช่วยดูแลต่อตามมูลค่าไม่เกินที่ได้ทำประกันภัยไว้
สำหรับผู้เสียชีวิต เราต้องชดเชยให้คู่กรณีด้วยตนเองก่อนในมูลค่า 500,000 บาทต่อคน จากนั้นประกันภ้ยรภยนต์จะช่วยดูแลต่อตามมูลค่าที่ได้ทำประกันภัยไว้
ตัวอย่าง
มีผู้เสียชีวิต 1 คน เราต้องชดเชยให้คู่กรณีด้วยตนเองก่อน 500,000 บาท
มีผู้เสียชีวิต 3 คน เราต้องชดเชยให้คู่กรณีด้วยตนเองก่อน 1,500,000 บาท
สนใจสมัครสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์ ร่วมทีมกับพี่เม่น
ศึกษาสิทธิประโยชน์ของสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์
ติดต่อได้ที่
Line ID : @srikrung168
หรือโทร 0-654-088-088
Comments