แต่ละปีเราต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และมอเตอร์ไซค์ เพื่อคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลที่ใช้รถ อีกทั้งยังต้องควบคู่ไปกับการต่อภาษีรถด้วย ซึ่งอัตราการเสียภาษีรถแต่ละคันนั้น จะจ่ายไม่เท่ากัน วันนี้ผมจึงมาบอกถึงรายละเอียดเบื้องต้นของอัตราภาษีรถครับ
อัตราภาษีรถนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย คือ
▶ ประเภทรถ
▶ รุ่นรถและขนาดเครื่องยนต์ (CC)
▶ น้ำหนักรถ
▶ อายุรถ
ตัวอย่างเช่น รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (CC) รถ ส่วนรถที่อายุการใช้งานเกิน 6 ปี จะลดให้ 10% ขึ้นไป
ซึ่งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน เช่น รถเก๋ง รถกระบะ 4 ประตู รถ SUV รถประเภทนี้คิดภาษี ตามซีซี ดังนี้
▶ 1-600 CC คิด CC ละ 0.50 สตางค์
▶ 601-1800 CC คิด CC ละ 1.50 บาท
▶ 1801 ขึ้นไป คิด CC ละ 4.00 บาท
รถมีอายุการใช้งาน ดังต่อไปนี้
▶ ปีที่ 1-5 เสียภาษีคงที่
▶ ปีที่ 6 ลดภาษีให้ 10%
▶ ปีที่ 7 ลดภาษีให้ 20%
▶ ปีที่ 8 ลดภาษีให้ 30%
▶ ปีที่ 9 ลดภาษีให้ 40%
▶ ปีที่ 10 ลดภาษีให้ 50%
▶ ปีที่ 11 เป็นต้นไป ภาษีเท่ากับปีที่ 10
การซื้อ พรบ ผ่านอินเตอร์เน็ต
ก่อนที่เราจะต่อภาษีรถยนต์ และรถมอเตอร์ไซค์ผ่านอินเตอร์เน็ตได้ เราก็จำเป็นที่จะต้องมี พรบ ก่อนซึ่งสามารถซื้อผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้เช่นเดียวกัน เรียกได้ว่าไม่ต้องออกจากบ้านก็สามารถทำธุรกรรมได้ทุกอย่าง ซึ่งเว็บไซต์ที่จะแนะนำสามารถเลือกซื้อได้ทั้ง พรบรถยนต์ และ พรบรถมอเตอร์ไซค์ จากกว่า 30 บริษัทได้ตามที่เราต้องการ โดยสามารถเข้าไปซื้อ พรบ ได้ที่
การต่อภาษีรถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์ผ่านอินเตอร์เน็ต
เมื่อซื้อ พรบ ผ่านอินเตอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว เรายังมาต่อภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่ง แต่หากใครที่เข้าใช้ครั้งแรกทางเว็บไซต์ก็มีคู่มือบริการให้ศึกษาก่อน
รถที่สามารถยื่นชำระภาษีประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมีเงื่อนไขดังนี้
ประเภทรถ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์ บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12)
ประเภทรถ รย.1 รย.2 และ รย.3 อายุรถไม่เกิน 7 ปี (ถ้าอายุรถเกินให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถาน ตรวจสภาพรถเอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
รถจักรยานยนต์ อายุรถไม่เกิน 5 ปี (ถ้าอายุรถเกินให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถ เอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
รถค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี (รถค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถเอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
ชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน
ประเภทรถ รย.1 รย.2 และ รย.3 น้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม (ถ้าน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถและยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
รถที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด (รถติดตั้งแก๊สให้ดำเนินการตรวจสภาพถังแก๊สตามประกาศกรมฯ และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)
รถทุกจังหวัดทะเบียน
สถานะรถ “ปกติ” เท่านั้น
รถที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี/ ไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ
รถที่ไม่ถูกอายัด (อายัดโดยระบบงานของกรมการขนส่งทางบก)
ที่มาของข้อมูล : https://www.dlt.go.th
สนใจสมัครร่วมทีมงานเดียวกับพี่เม่น
ติดต่อได้ที่ Line ID : srikrung168 Line : http://line.me/ti/p/~srikrung168
หรือโทร 0-654-088-088
ใบสมัครออนไลน์ สมัครเป็นทีมงานติดตัวพี่เม่น https://www.srikrungexpo.com/k25655
Comments