top of page
  • รูปภาพนักเขียนP'MEN

ใช้รถส่วนบุคคลไปรับส่งผู้โดยสาร ประกันจะคุ้มครองมั้ย?

อัปเดตเมื่อ 27 ก.ย. 2566



ใช้รถยนต์ที่ทำประกันภัยรถยนต์ส่วนบุคคลไปรับส่งผู้โดยสาร ประกันภัยรถยนต์จะให้ความคุ้มครองมั้ย คำตอบคือ ยังคงมีความคุ้มครองแต่ไม่คุ้มครองทั้งหมด และมีเงื่อนไขที่เราต้องร่วมจ่าย

ปกติเราซื้อรถเก๋ง หรือรถกระบะ 4 ประตูมาเพื่อใช้ในกิจวัตรประจำวันทั่วไป เราจะจดทะเบียนเป็นรถส่วนบุคคล เวลาซื้อประกันภัยรถยนต์ ก็จะซื้อประกันในลักษณะเป็นการใช้งานส่วนบุคคล รหัส 110 / ลักษณะการใช้รถยนต์ คือ ใช้ส่วนบุคคล ไม่ใช้รับจ้างหรือให้เช่า ตามตัวอย่างในภาพครับ




แต่การใช้รถยนต์เพื่อรับจ้างรับส่งผู้โดยสาร (แท๊กซี่, แกร๊บคาร์) จะมีความเสี่ยงมากกว่า ไม่สามารถซื้อประกันภัยรถยนต์ในรหัส 110 ได้ จำเป็นจะต้องซื้อประกันภัยรถยนต์ในรหัส 730 การใช้รับจ้างสาธารณะุซึ่งมีราคาประกันภัยสูงกว่า โดยส่วนใหญ่จะมี่ขายเป็นประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 (ไม่มีความคุ้มครองตัวรถของเรา)


บางคนใช้รถยนต์ส่วนบุคคลไปสร้างรายได้เสริมเป็นการชั่วคราวในการรับส่งผู้โดยสาร หากในนขณะเกิดอุบัติเหตุ อยู่ในระหว่างรับจ้างรับส่งผู้โดยสาร ถือว่าเป็นการใช้งานผิดประเภท แน่นอนจะส่งผลต่อความคุ้มครองของ พ.ร.บ. และ ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ที่จะยกเว้นไม่มีความคุ้มครองบางส่วน และเราต้องร่วมจ่ายในความคุ้มครองบางส่วนด้วย รายละเอียดทั้งหมดถูกเขียนไว้ในเอกสาร 2 ฉบับนี้ที่เราได้ไปพร้อมกับการซื้อประกันภัยรถยนต์ครับ


1 เงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ

2 เงื่อนไขและความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ


เอกสารทั้ง 2 ฉบับนี้จะมีข้อความเป็นมาตรฐานตามข้อกำหนดของ คปภ. ที่เหมือนกันทุกบริษัทประกันภัย หากเอกสารของเราสูญหายไปสามารถศึกษาจากเอกสารของบริษัทไหนก็ได้ครับ


ข้อยกเว้นของ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ


ข้อ 14 การใช้รถ

กรณีใช้รถในเวลาที่เกิดอุบัติเหตุนอกเหนือจากที่ได้ระบุไว้ในตาราง ซึ่งทำให้เกิดการเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้น ผู้เอาประกันภัยต้องชดใช้ค่าเสียหายคืนให้บริษัทตามจำนวนที่บริษัทจ่ายไป แต่ไม่เกิน 2,000 บาท


หมายความว่า หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ แล้วเราต้องใช้ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. ในการดูแลผู้บาดเจ็ม เราจะต้องจ่ายให้กับบริษัทประกันภัยตามมูลค่าที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกิน 2,000 บาท ด้วย


ข้อยกเว้นของ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ ภาคสมัครใจ


หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก

ข้อ 2. ความเสียหายส่วนแรก

ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบเองต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง ดังนี้

(ก) 2,000 บาทแรกของความเสียหายของทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ในกรณีที่ใช้รถยนต์ในเวลาเกิดอุบัติเหตุนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในตาราง


หมวดความคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์

ข้อ 9. ข้อยกเว้นการใช้อื่น ๆ การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง

9.2 การใช้รถยนต์นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในตารางในขณะเกิดอุบัติเหตุ


หมายความว่า แม้เราจะซื้อประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 แต่หากขณะเกิดอุบัติเหตุเรากำลังอยู่ระหว่างรับส่งผู้โดยสาร


1. ประกันภัยจะไม่ให้ความคุ้มครองตัวรถของเราเลย เท่ากับเหลือความคุ้มครองเพียงชั้น 3 เท่านั้น โดยจะยังคงมีความคุ้มครอง "ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก" ในช่องที่ 1 และ "ความคุ้มครองตามเอกสารแนบท้าย" (คนขับและผู้โดยสารในรถ) ในช่องที่ 3


2 หากเราต้องใช้ความคุ้มครอง "ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก" ในช่องที่ 1 เราจะต้องชำระค่าเสียหายส่วนแรกให้บริษัทประกันภัย 2,000 บาท ด้วย


สรุปว่า หากเรานำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ส่วนบุคคลไปรับจ้างรับส่งผู้โดยสาร ขณะกำลังทำงานให้พึงระลึกไว้เสมอ หากเกิดอุบัติเหตุ ตัวรถของเราจะไม่ได้รับความคุ้มครอง และมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหากต้องใช้ความคุ้มครองของ พ.ร.บ. และประภันภัยรถยนต์ชั้น 1

สำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำประกันภัยรถยนต์ และนำรถยนต์ของเราไปขับแกร๊บคาร์ สามารถซื้อประกันรถยนต์เบาใจ ผ่านแอพพลิเคชั่นของแกร๊บคาร์ได้ ซึ่งเป็นประกันภัยสำหรับการขับขี่แบบรับจ้างสาธารณะ เป็นประกันภัยประเภท 3 (ไม่มีความคุ้มครองตัวรถของเรา) ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของแกร๊บครับ


อ้างอิง



ตัวอย่างแพคเกจประกันภัยรถยนต์ สำหรับใช้รับจ้างสาธารณะ เป็นประกันภัยรถยนต์ประเภท 3 หากเป็นสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์ มีส่วนลดให้ด้วย




แต่หากต้องการใช้เป็นประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 สามารถส่งเอกสารมาลองเช็คกับบริษัทประกันภัยดูก่อนได้ครับ




 

สนใจสมัครสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์ ร่วมทีมกับพี่เม่น

ศึกษาสิทธิประโยชน์ของสมาชิกศรีกรุงโบรคเกอร์

ติดต่อได้ที่

Line ID : @srikrung168

หรือโทร 0-654-088-088


ใบสมัครออนไลน์ สมัครเป็นทีมงานติดตัวพี่เม่น

ซื้อประกันภัยออนไลน์

TAGs

#ศรีกรุงโบรคเกอร์ #นายหน้าประกันวินาศภัย #นายหน้าประกันชีวิต #งานพิเศษ #รายได้พิเศษ #งานเสริม #PassiveIncome #ประกันภัยรถยนต์ #ประกันออนไลน์ #ทิพย์วิจิตร #งานออนไลน#ขายประกันรถยนต์

ดู 46 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page